บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์.... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989...
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู...

เวทนานุปัสนาสติปัฏฐานแบบวิชาธรรมกาย



วันนี้เรามาเปรียบเทียบคำอธิบายเวทนานุปัสนาสติปัฏฐานแบบวิชาธรรมกายกัน  เอาข้อความของเวทนานุปัสนาสติปัฏฐานแบบถูกต้อง  ไม่มีข้อความเพิ่มเติมแบบที่ควายนรกภูมิธรรมมันยกมา


ข้อสรุปก่อนว่า เวทนานุปัสนาสติปัฏฐานในไตรปิฎกควรเป็นอย่างไร

1) เวทนาในเวทนานุปัสนาสติปัฏฐานมี 3 อย่างคือ

สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา

2) ในการปฏิบัตินั้น ต้อง “พิจารณาเห็น/อนุปัสนา/ตามเห็น” ด้วย  และ “รู้ชัด” ด้วย

3) ในเวทนาทั้ง 3 ประการนั้น ต้อง “ตามเห็น” ด้วย “รู้ชัด” ด้วยว่า มีอามิส หรือไม่มีอามิส

4) การ “ตามเห็น” ด้วย “รู้ชัด” ด้วย ต้อง ทั้งรู้ทั้งเห็นในกายของตัวเราเอง และในกายของคนอื่นด้วย

5) เวทนาทั้ง 3 อย่างนั้น  คนปฏิบัติต้องทั้งรู้ทั้งเห็นใน
- ความเกิดขึ้น ของเวทนาทั้ง 3 ประการ
- ความเสื่อม ของเวทนาทั้ง 3 ประการ
- ทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อม ของเวทนาทั้ง 3 ประการ

จากที่สรุปไปนั้น  พวกสาวกควายๆ ของพระพม่า  รวมทั้งพระพม่าเอง และรวมทั้ง “โกเอนก้า” ที่ว่าเชี่ยวชาญเรื่อง เวทนานุปัสนาสติปัฏฐาน มากกว่าใคร  ไม่มีใครทำได้เลย ไม่มีใครทำถูกต้องเลย

พวกควายๆ เหล่านั้น หลงผิดไปว่า “การทนเจ็บ คือ เวทนานุปัสนาสติปัฏฐาน 

นั่นก็เป็นความโง่สุดๆ แล้ว  ที่โง่มากไปกว่านั้นก็คือ  พวกนี้ยังคงให้ศัพท์ว่า “พิจารณาเห็น” กันอยู่  แต่มันไม่ยอมเห็นอะไรเลย 

มันก็โง่จนสุดคำบรรยายเหมือนกัน

ต่อไป เอาข้อความของคุณลุงการุณย์ บุญมานุช มาเปรียบเทียบกันเลย  ขอยกเพียงสั้นๆ ดังนี้

เวทนานี้ก็คือ ใจ นั่นเอง เพราะใจมี ต้น-กลาง-ปลาย ใจเบื้องต้นคือใจ ใจชั้นกลาง คือ จิต ใจชั้นปลายคือ วิญญาณ

ใจประกอบด้วย ดวงเห็น-ดวงจำ-ดวงคิด-ดวงรู้ ซ้อนกัน พอเราจรดใจลงที่ดวงเวทนา เราจะเห็นอะไรบ้าง?

เราก็เห็นดวงใจเป็นดวงใส นิ่งกลางใจก็เห็นจุดใสเท่าปลายเข็ม ส่งใจนิ่งกลางจุดใสเท่าปลายเข็มแล้วนิ่งดูต่อไป

(ก) ถ้าจุดใสเท่าปลายเข็มมีความใส เราจะรู้สึกว่าเกิดความสุขทางใจ

(ข) ถ้าจุดใสเท่าปลายเข็มมีความขุ่น เราจะรู้สึกว่าไม่เป็นสุข ถ้าความขุ่นกระเดียดไปเป็นดำ เราจะทุกข์ใจมาก

(ค) ถ้าจุดใสเท่าปลายเข็มมีสีน้ำตาล เราจะรู้สึกเฉย ๆ บุญไม่ทำกรรมไม่สร้าง จะว่าสุขก็ไม่ใช่จะว่าทุกข์ก็ไม่เชิง

การพิจารณาจนถึงขั้นเป็นอารมณ์ทางใจเกิดแก่เรา 3 อย่าง คือ อารมณ์เป็นสุข (อารมณ์ของฝ่ายกุศล) อารมณ์เป็นทุกข์ (อารมณ์ฝ่ายอกุศล) อารมณ์เป็นกลางๆ (อารมณ์ของฝ่ายอัพยากตาธัมมา)

ข้อเน้นไปที่ในส่วนที่เน้นตัวอักษรสีแดงก่อน  จะเห็นว่า  ผู้ปฏิบัติธรรมของวิชาธรรมกาย

1) เห็น สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา  เมื่อเห็นก็ต้องรู้ด้วยเป็นอัตโนมัติ จะเห็นว่า ตรงนี้สอดคล้องกับพระไตรปิฎก อย่างที่ไม่มีใครสามารถอธิบายได้มาก่อน

ยิ่งพระพม่าด้วยแล้ว หรือสาวกควายๆ ของพระพม่าด้วยแล้ว  ไม่มีคำอธิบายแบบนี้ให้เห็น

2) ต่อมาพิจารณาถึงข้อเขียนของพวกควายๆ ที่ว่า “ในพระไตรปิฎกไม่มีดวง  

ตรงนี้ต้องบอกว่า พระไตรปิฎกนั้น เหมือนหลักสูตร คือ มีหลักการสอนเป็นโครงสร้างไว้ หลักการสอนนั้น ไม่ได้บอกรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร

คือ ไม่มีการบอกว่า ถ้าเป็นสายพุทโธต้องทำแบบนี้  ถ้าเป็นสายนะมะพะทะต้องทำแบบนี้ ถ้าเป็นสายวิชาธรรมกายต้องทำแบบนี้

ตกมาถึงรุ่นของเราจะทำอย่างไร

มันก็ต้องดูว่า “ใครอธิบายได้สอดคล้องที่สุดตามหลักมหาปเทส 4”

ในวิชาธรรมกายอธิบายว่า “ในส่วนละเอียดที่สุดนั้น หัวข้อธรรมะมีลักษณะเป็นดวง
คนใดมี สุขเวทนา ดวงเวทนาก็จะใส
คนใดมี ทุกขเวทนา ดวงเวทนาก็จะดำ
คนใดมี อทุกขมสุขเวทนา ดวงเวทนามีสีน้ำตาล

การเห็นดวงเวทนานั้น ในทางวิชาธรรมกายเราสามารถสังเกตดูกายเนื้อได้เลย  พูดง่ายๆ ว่า สมมุติว่า เราเห็นคนๆ หนึ่ง นั่งหน้าดำคร่ำเครียด เศร้าหมอง  (ดังภาพด้านบน)

เราอยากจะดูดวงเวทนาของเขาก็ทำแบบนี้

1) เดินวิชา 18 กาย อย่างต่ำ 7 รอบ ทำให้ดวงธรรมใส และกายใส ตอนนี้ เราต้องหยุดอยู่ที่กายธรรมพระอรหัตละเอียด

2) เอาใจของกายธรรมพระอรหัตละเอียด เข้าไปตามฐานของใจของเขา  ตามภาพเป็นผู้ชาย เราก็เข้าปากช่องจมูกขวา เพลาตาขวา จอมประสาท แล้วก็ไปถึงฐานที่ 7 จะเห็นดวงปฐมมรรคของกายมนุษย์ของเขา

3) อธิษฐานใจกับกายธรรมพระอรหัตว่า “ขอดูดวงเวทนาของชายคนนี้” เราก็จะเห็นดวงเวทนาเป็นสีดำ

นี่เป็นการ “ตามเห็น” ด้วย “รู้ชัด” ด้วยในกายของคนอื่นด้วย

พระพม่าและสาวกควายๆ ของพระพม่า รู้หรือไม่ ทำได้หรือไม่ ..

ประการสำคัญเลยก็คือ  อทุกขมสุขเวทนา  คืออะไร  คำนี้ พระพม่าและสาวกควายๆ ของพระพม่าไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่เคยกล่าวถึง

การไม่สุขไม่ทุกข์ในทางวิชาธรรมกายอธิบายไว้ ก็เช่น การปฏิบัติตามชีวิตประจำวันเกี่ยวกับร่างกายของเรา  ยกตัวอย่างเช่น  อาบน้ำ หวีผม  กวาดบ้าน ฯลฯ

อาการเหล่านั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดกรรมชั่ว หรือกรรมดี  เป็นกรรมกลางๆ ที่เราท่านทำอยู่ทุกวัน..



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น