บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์.... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989...
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู...

การคิดของควายนรกภูมิธรรม

เรามาสรุปบทความชุดนี้ ด้วยระบบคิดของควายนรกภูมิธรรมตัวนี้  จากความคิดเห็นของมันเอง ในความคิดเห็นที่  10  ดังนี้

คห 1 "นั่นเขาใช้นิมิตในการแสดงอารมณ์ทางจิตครับ"

คห 5-2 "เจโตปริยญาณในทางอริยมรรคแล้วท่านให้ดูจิตตัวเองครับ มันจะแสดงออกเป็นสีต่างๆ ตามอารมณ์  ซึ่งจะทำให้เราสามาถแก้จิตได้ตรงจุด"

ขอดูหลักฐานในพระไตรปิฎกหน่อยครับ ถ้าจะอ้างว่าไม่มี เพราะเป็นวิชาที่หลวงพ่อสดค้นพบ อย่างนี้จบครับ ไม่ต้องเถียง สรุปได้เลยว่า ท่านสอนผิดจากพุทธศาสนา

เท่าที่ผมเห็น ตามกระทู้ผม เขาก็สอนให้ก็หลงนิมิตกันหมด

ขอให้อ่านเฉพาะที่ผมเน้นสีแดงไว้ ก็พอ

ผมเขียนบทความบล็อกนี้ไป 4 บทความแล้ว  ขอยกใหม่อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้

01-เวทนาควายนรกภูมิธรรม
02-นิมิตคือดวงเวทนา
03-กลุ่มของควายปัญญาอ่อน
04-เวทนานุปัสนาสติปัฏฐานแบบวิชาธรรมกาย

ผมยกข้อความทั้งจากพระไตรปิฎก ทั้งจากไอ้ควายบรรดาสมองหมา ปัญญาควายในกระทู้ดังกล่าว นำมาอธิบายและให้หลักฐาน ให้เหตุผลไว้อย่างครบถ้วน 

ไอ้ควายนรกภูมิธรรมมันยังจะมาขอหลักฐานจากพระไตรปิฎกอีก  ก็ไม่รู้ตัวมัน ครอบครัวโคตรเหง้าเล่ากอของมัน ทำไมถึงได้โง่ได้ถึงขนาดนี้

นอกจากนั้นแล้ว  ผมก็อธิบายไปเสมอๆ ว่า “ดวงกาย ดวงเวทนา ดวงจิต ดวงธรรม” นั้น ไม่ใช่ดวงนิมิตในวิชาธรรมกาย 

นิมิตในวิชาธรรมกายมี  ไม่ใช่ไม่มี  แต่นิมิตจะปรากฏในขั้นตอนเบื้องต้นของการฝึกวิชาธรรมกายเท่านั้น 

ไอ้ควายนรกภูมิธรรมมันก็ยังจะบอกว่า “เป็นดวงนิมิต”  อยู่อีก นี่ก็เช่นเดียวกัน ก็ไม่รู้ตัวมัน ครอบครัวโคตรเหง้าเล่ากอของมัน ทำไมถึงได้โง่ได้ถึงขนาดนี้

ประการสำคัญก็คือ  ไอ้ควายนรกภูมิธรรมตัวนี้ มันเป็นสาวกควายๆ ของพระพม่า  มันโง่ที่สุดในพวกสาวกของพระพม่า

เพราะ พระพม่าเอง ไม่เคยมาเล่นเรื่อง “เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน” เพราะ พระพม่าไม่รู้จะอธิบายอย่างไร

สาวกของพระพม่าที่มาเล่นเรื่องนี้ มีคนเดียว คือ “โกเอ็นกา” ซึ่งเป็นชาวพม่า เชื้อสายอินเดียว  แต่โกเอ็นก้าไม่ยอมรับอย่างนั้น ท่านว่าเป็นคนอินเดีย แต่เกิดที่พม่า

พูดง่ายๆ ก็คือ โกเอ็นก้าเห็นว่า “พม่า” ด้อยกว่า “อินเดีย” 

กลับมาเข้าเรื่อง ถึงแม้โกเอ้นกาพยายามเล่นเรื่อง “เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน” แต่โกเอ็นก้าก็ไปไม่เป็นเหมือนกัน คือ ไปคิดว่า “การทนความเจ็บปวดได้ คือ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน” ซึ่งผมได้อธิบายไปแล้วว่า “ไม่ใช่”

ขอสรุปเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานอีกครั้งว่า จะต้องเป็นอย่างนี้

1) เวทนาในเวทนานุปัสนาสติปัฏฐานมี 3 อย่างคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา

2) ในการปฏิบัตินั้น ต้อง “ตามเห็น” ด้วย  และ “รู้ชัด” ด้วย  [ตามเห็น = อนุปัสสนา]

3) ในเวทนาทั้ง 3 ประการนั้น ต้อง “ตามเห็น” ด้วย “รู้ชัด” ด้วยว่า มีอามิส หรือไม่มีอามิส

4) การ “ตามเห็น” ด้วย “รู้ชัด” ด้วย ต้อง ทั้งรู้ทั้งเห็นในกายของตัวเราเอง และในกายของคนอื่นด้วย

5) เวทนาทั้ง 3 อย่างนั้น  คนปฏิบัติต้องทั้งรู้ทั้งเห็นใน
- ความเกิดขึ้น ของเวทนาทั้ง 3 ประการ
- ความเสื่อม ของเวทนาทั้ง 3 ประการ
- ทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อม ของเวทนาทั้ง 3 ประการ

ผมจะยกตัวอย่างการสอนเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานของวัดภัททันตะอาสภาราม ซึ่งเป็นสำนักที่เป็นสาวกของพระพม่าค่อนข้างถูกต้อง  ถูกต้องมากกว่าวัดมหาธาตุว่าอย่างนั้นเถอะ

ที่ต้องไปยกคำสอนของวัดภัททันตะอาสภารามมา ก็เป็นเพราะว่า ไอ้ควายนรกภูมิธรรมมันไม่บอกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานของมันเป็นอย่างไร 

มันพยายามจะจับผิดวิชาธรรมกายอย่างจังไร อย่างเลวทรามอย่างเดียว  ถ้ามันบริสุทธิ์ใจ มันก็ต้องอธิบายเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานของมันมาก่อน

ท่านสอนไว้ดังนี้  [http://bhaddanta01.blogspot.com/2013/03/blog-post_697.html]

เวทนา หมายถึง ความรู้สึกหรือความเสวยอารมณ์ที่ปรากฏในขณะปฏิบัติทั้งทางกายและจิตใจ เช่น ความรู้สึกสุขสบาย หรือทุกข์ที่ปรากฏขึ้นในทางร่างกาย ความรู้สึกเป็นสุขใจ ดีใจ ปลาบปลื้มฯ หรือทุกข์ทางใจ อึดอัด ขัดเคือง ไม่พอใจ ไม่สบายใจ เป็นต้น

จะเห็นว่า คำแปลก็ผิดเพี้ยนแล้ว  พระไตรปิฎกเขียนว่า “พิจารณาเห็น”  วัดภัททันตะอาสภารามบอกว่า “ความรู้สึกหรือความเสวยอารมณ์”  แล้วมันตรงกันหรือไม่

เวทนานี้เมื่อจำแนกออกไปแล้วมี ๓ ประเภท คือ สุขเวทนา ๑ ทุกข์เวทนา ๑ อุเบกขาเวทนา ๑

ซึ่งถ้าหากมีความชัดเจนกว่าอาการพอง - ยุบ ควรตั้งใจกำหนด จนกระทั่งเวทนาหรือความเสวยอารมณ์นั้นๆ จะเสื่อมไป หายไป

ถ้ามีอารมณ์อื่นที่ชัดเจนมากกว่านี้อีก ก็ให้ย้ายไปกำหนดอารมณ์นั้นทันที

ควรกำหนดทีละอารมณ์ ไม่ควรกำหนดหลายอย่างพร้อมกัน เพราะจะทำให้เกิดความสับสน จนก่อให้เกิดความเครียดมากขึ้น ซึ่งอาจจะไม่เป็นผลดีแก่นักปฏิบัติใหม่

วัดภัททันตะอาสภารามเห็นว่าเวทนามี 3 อย่าง  แต่ไม่ยอมเห็น และไม่ยอมเอ่ยถึง “อุเบกขาเวทนา” เพราะ ไม่รู้ว่าคืออะไร

วิธีปฏิบัติ
ขณะปวด กำหนดว่า ปวดหนอๆ ขณะเจ็บ กำหนดว่า เจ็บหนอๆ ขณะชา กำหนดว่า ชาหนอๆ ขณะคัน กำหนดว่า คันหนอๆ ขณะเมื่อย กำหนดว่า เมื่อยหนอๆ ขณะแสบ กำหนดว่า แสบหนอๆ เป็นต้น
...........
จะวางใจอย่างไรในเมื่อต้องเผชิญหน้ากับทุกขเวทนา? นักปฏิบัติต้องวางใจให้เป็นกลาง อย่าไปอยากให้หาย อย่าไปอยากเอาชนะ อย่าไปอยากรู้ว่ามันจะดับหรือไม่ดับอย่างไร ให้ทำหน้าที่เพียงแค่การเฝ้าดูอย่างมีสติเท่านั้น

พอถึงการปฏิบัติเข้าจริงๆ วัดภัททันตะอาสภารามก็ไม่อธิบายถึง สุขเวทนา กับ อุเบกขาเวทนา เสียแล้ว  อธิบายแต่ ความเจ็บ ความเมื่อย ความคัน ความชา ซึ่งเป็นเพียงบางส่วนของ“ทุกขเวทนา” เท่านั้น

ไอ้ควายสัตว์นรกภูมิธรรมมันโง่จริงๆ ที่มาเล่นเรื่องนี้ เพราะ เป็นจุดอ่อนของพระพม่าและสาวกมากที่สุด

และจากที่ผมเขียนมา  5  บทความนี้ จะเห็นได้ว่า วิชาธรรมกายอธิบาย “เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน” ได้ชัดเจน แจ่มแจ้งสอดคล้องกับพระไตรปิฏกอย่างที่ไม่มีสายไหนอธิบายได้อย่างนี้อีกแล้ว

อย่างไรก็ดี  บรรดาพวกสมองหมา ปัญญาควายในห้องศาสนา พันธุ์ทิพย์ โดยเฉพาะในกระทู้นี้ “มันไม่ยอมรับรู้” หรอก


เพราะ มันเป็นควายกันทั้งฝูง  มันจะไปรับรู้ความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างไร..



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น